ประวัติพันธุ์หมาบางแก้ว
หมาบางแก้วมีชื่อเสียงมานานแล้วก็จริง แต่ก็หาผู้ที่รู้เกี่ยวกับความเป็นมาของประวัติพันธุ์ไม่ได้ เพียงแต่บอกอย่างลอยๆว่าเป็นลูกผสมระหว่างหมาป่ากับหมาไทย และเท่าที่ผู้ใกล้ชิดสังเกตดูรูปร่างและอุปนิสัยแล้ว พบว่าหมาบางแก้วเกิดจากหมา 3 พันธุ์ คือ พันธุ์ไทย พันธุ์จิ้งจอก และพันธุ์หมาป่า คือ มีขนยาวปานกลาง ปากแหลม หางเป็นพวง ซึ่งเป็นลักษณะของหมา จิ้งจอก กะโหลกรูปสามเหลี่ยม ใบหูตั้งสั้นปลายแหลม แบนออกข้างๆ โคนหูห่างกันมาก เป็นลักษณะของหมาป่า นายมา เกตุนิล อายุ 92 ปี (เกิดปี พ.ศ. 2444) ได้เล่าถึงสภาพของบ้านบางแก้วในอดีตและประวัติพันธุ์หมาบางแก้วว่า บ้านบางแก้ว ตำบลท่านางาม (ชื่อเดิมตำบลบางแก้ว) อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ในอดีตนั้นบ้านบางแก้วอุดมไปด้วยป่าพง ป่าระกำ ป่าไผ่ และต้นไม้ชนิดอื่นๆ เนืองแน่นอยู่ทั่วไป จากสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์จึงเหมาะแก่การอยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด แต่ทว่าในปัจจุบันสภาพของป่าถูกบุกรุกและถูกทำลายไปมากจนไม่หลงเหลือให้เห็นอีกเลย พื้นที่บริเวณบ้านบางแก้วมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม ในฤดูฝนมีน้ำไหลหลากและน้ำท่วมอยู่เป็นเวลานาน ดังนั้นจึงทำการเพาะปลูกพืชผลไม่ได้ สภาพภูมิประเทศมีความกันดาร และเต็มไปด้วยอันตรายต่างๆ บ้านบางแก้ว จึงเป็นสถานที่มีบุคคลมักหลบหนีมาซ่อนตัว หรือเป็นที่หลบภัยของผู้ที่กระทำความผิดกฎหมาย กลุ่มบุคคลดังกล่าวจึงนับได้ว่าเป็นคนรุ่นแรกที่เริ่มบุกเบิกเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบ้านบางแก้ว ต่อมามีการอพยพย้ายถิ่นฐานของผู้คนจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นครปฐม สุพรรณบุรี และอ่างทอง เดินทางเข้ามาอยู่ในหมู่บ้าน โดยสร้างเรือนแพอาศัยอยู่ในคลองบางแก้ว ซึ่งเชื่อมติดต่อกับแม่น้ำยม อาชีพหลักที่ทำกันเป็นล่ำเป็นสัน คือ การจับปลาในคลองบางแก้ว ซึ่งมีชุกชุมมาก เมื่อเริ่มมีเครื่องยนต์กลไกเข้ามาใช้บ้างแล้ว การเดินทางของชาวบางแก้ว เพื่อเข้ามาในเมืองพิษณุโลกทำได้ 2 ทาง ถ้าเป็นฤดูแล้ง จะเดินด้วยเท้า เกวียนหรือขี่ม้า ผ่านทางทุ่งทะเลแก้วแล้วออกทางวัดตาลมาที่ถนนสาย 9 หรือถนนสิงห์วัฒน์ในปัจจุบัน ถ้าเป็นฤดูฝนมีน้ำท่วมมากต้องพายเรือ หรือแจวเรือไปตามคลองบางแก้ว แล้วขึ้นที่หนองแกแล ท่าเรือบางระกำ เพื่อขึ้นรถโดยสารเข้ามาในตัวเมืองพิษณุโลก เมื่อชุมชนมีความเจริญมากขึ้นตามลำดับ ชาวบ้านได้ช่วยกันสร้างวัดบางแก้วขึ้น เพื่อเป็นศูนย์รวมทางจิตใจและทำนุบำรุงพุทธศาสนาให้เจริญงอกงาม หลวงปู่มาก เมธารี เจ้าอาวาสองค์ที่ 3 ของวัดบางแก้ว นอกจากเป็นนักเทศน์ที่มีชื่อเสียง มีความรู้แตกฉานทั้งด้านภาษาบาลี และภาษาขอม ท่านยังมีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านคาถาอาคมและทางไสยศาสตร์ เป็นที่ยอมรับกันว่าท่านเป็นพระที่ศักดิ์สิทธิ์มาก เป็นพระที่มีใจเมตตากรุณา ท่านได้เลี้ยวสัตว์ไว้หลายชนิด ทั้งไก่แจ้ นกเขา แมว ม้า และสุนัข ต่อมามีนักเลงคนหนึ่งชื่อตานิ่ม อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของวัดบางแก้ว ตานิ่มได้ถวายสุนัขตัวเมียตัวหนึ่งให้หลวงปู่มาก สุนัขตัวนี้มีลักษณะตัวใหญ่ สีดำ และมีขนยาว เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ได้ไปผสมพันธุ์กับสุนัขจิ้งจอก หรือสุนัขป่า มีลูกออกมาเป็นสีดำปนกับสีประดู่ ตัวใหญ่ และขนยาว ในช่วงนั้นหลวงปู่มากมีสุนัขรวมเป็น 4 ตัว ต่อมาได้มีการอพยพครั้งใหญ่ของชาวบ้านจากจังหวัดนครปฐม สุพรรณบุรี และอ่างทอง เดินทางเข้ามาอาศัยอยู่ที่บ้านบางแก้วและเมื่อปี พ.ศ. 2469 พวกลาวโซ่งได้อพยพครอบครัวต้อนควายมาด้วยหลายสิบฝูง และมีสุนัขติดตามมาด้วยเป็นจำนวนมาก พวกเขาตั้งหลักถิ่นฐานอยู่ที่บ้านห้วยชัน ซึ่งห่างจากบ้านบางแก้วประมาณ 2 กิโลเมตร ชาวบ้านจากห้วยชัน กับชาวบ้านบางแก้วมีการติดต่อค้าขายกัน เมื่อชาวบ้านจากห้วยชันเดินทางมาบ้านบางแก้วก็มีสุนัขติดตามมาด้วย ดังนั้นสุนัขจากหมู่บ้านห้วยชันจึงได้มีโอกาสผสมพันธุ์กับสุนัขของหลวงปู่มาก พอลูกออกมา ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ตามเรือนแพก็มาขอลูกสุนัขของหลวงปู่มากไปเลี้ยงไว้บนแพ ต่อมาเมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ เป็นช่วงที่น้ำไหลหลากท่วมพื้นดินเป็นแรมเดือน สุนัขจากท้องถิ่นอื่นๆ ก็ไม่มีโอกาสเข้าผสมพันธุ์ด้วย เมื่อสุนัขในพื้นที่บางแก้วผสมพันธุ์กันเองภายในเหล่าเดียวกันหลายชั่วอายุ การผสมพันธุ์ก็ไม่ได้มีเกณฑ์อะไร เป็นไปอย่างธรรมชาติหลายสิบปี จึงเกิดลูกพันธุ์หมาบางแก้วแท้ที่มีลักษณะเด่นเฉพาะตัว ดังนั้นทั้งสภาพจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงเป็นปัจจัยสำคัญสนับสนุนให้เกิดสายเลือดของสุนัขบางแก้วขึ้น
ลักษณะเด่นที่หมาบางแก้วได้รับการถ่ายทอดจะมาจาก 3 สายพันธุ์นี้เป็นหลัก กล่าวคือ
1.หมาจิ้งจอก (Canis Aureus) มีอยู่ด้วยกัน 4 ชนิด
หมาจิ้งจอกทองหรือหมาทอง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า คานิส ออรีอัส (Canis Aureus) มีลักษณะคล้ายหมาป่าวูล์ฟ ขนาดเล็กมีอยู่อย่างกระจัดกระจายตั้งแต่อัฟริกาใต้ไปจนถึงอัฟริกาเหนือ มีขนสีน้ำตาลปนเหลือง ส่วนหลังและหางจะแซมด้วยสีดำ
หมาจิ้กจอกหลังดำ (Black-backed) หรือหลังอานมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า คานิส ไซเมนซิส (Canis Mesomelas) พบในอัฟริกาตอนกลาง อัฟริกาใต้ ที่หลังมีขนยาวสีดำปนขาวแผ่กระจายเต็มหลังไปจนถึงบริเวณหางคล้ายกับอานม้าและใบหูใหญ่
หมาจิ้งจอกหางลาย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า คานิสไซเมนซิส (Canis Adustus) หมาจิ้งจอกพันธุ์นี้มีขนสีเทาและมีขนสีดำพาดเป็นทางด้านข้างลำตัว ที่ปลายหางจะมีสีขาว พบในอัฟริกาเขตร้อน
หมาจิ้งจอกไซเมี่ยน แจ็คกัล (Simian jackal) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า คานิส ไซเมนซิส (Canis Simensis) พบ ในเขตที่ราบสูงเอธิโอเปีย มีรูปร่างและขนาดอยู่ระหว่างหมาจิ้งจอกฟ๊อกซ์ (Fox) และหมาป่าวูล์ฟ (Wolf) แต่ดูแล้วจะเหมือนหมาจิ้งจอกฟ๊อกซ์ (Fox) มากกว่า ลักษณะที่เด่นๆ คือ หูตั้ง ใบหูใหญ่ ปลายหูแหลม ลำตัวค่อนข้างยาว ขนตามลำตัวค่อนข้างแดง ส่วนขนที่คอสีขาวและมีแนวขนสีแดงแก่พาดรอบคอ ขายาวขนที่บริเวณปลายขาจะมีสีขาว หางเป็นพวง โคนหางขาวปลายโคนหางประมาณ 100 ซม. (40 นิ้ว) หรือ 1 เมตร หางยาว 30 ซม. (10 นิ้ว) น้ำหนัก 10 ก.ก. (22 ปอนด์) ตามธรรมชาติจะชอบอยู่เป็นคู่หรืออยู่ลำพังตัวเดียว หมาจิ้งจอกพันธุ์นี้นับว่าเป็นหมาที่มีขนาดใหญ่ แต่ชนิดที่อยู่ในแถบเอเชียและที่พบในประเทศไทยนั้นเป็นชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า คานิส ออริอัส อินดิคัส (Canis Aureus Indicus) ขนของหมาจิ้งจอกพันธุ์นี้จะมีขนสีน้ำตาลปนเทา มีลายกระดำกระด่างเปรอะๆไม่ไช่สีพื้นแดงสนิมเหมือนกับอย่างขนของหมาไนนอกจากนั้นแล้วยังมีขนยาวปกคลุมรอบคอเป็นแผงใหญ่ขนบริเวรนี้ปลายขนจะมีสีดำขนตามลำตัวจะมีลักษณะขนสองชั้นแผ่ชี้ปกคลุมตั้งแต่ท้ายทอยลงมาจนถึงกลางหลังเรื่อยจนไปถึงโคนหางมีลักษณะคล้ายกับอานม้ามากกว่าขนที่กลางหลังของหมาไทยพันธุ์หลังอานเสียอีกเพราะขนที่หลังของหมาหลังอานเป็นขนชนิดที่ย้อนกลับคล้ายๆ กับขวัญ หางของหมาจิ้งจอกจะสั้นกว่าหางของหมาไนและขนที่หางจะมีสีดำเพียงแค่ 1 ใน 3ส่วนหมาไนจะมีขนที่หางจะเป็นสีดำ ความสูงประมาณ 40 ซม. น้ำหนักตัวประมาณ 7-14 ก.ก. (15-31 ปอนด์) ความยาวของลำตัววัดจากหัวหัวถึงปลายหางหางประมาณ 60-75 ซม. (24-30 นิ้ว) ความยาวของหางวัดจากหัวถึงปลายหางประมาณ23-25 ซม.(9.2-14 นิ้ว) กะโหลกศีรษะอยู่ในจำพวกสกุลคานิส ลักษณะของจมูกจะยาวแต่จมูกไม่ดำ ลำตัวกลมและแข็งแรง สันกลางต่ำ โค้งกว้างแตกต่างกับหมาไนซึ่งมีจมูกสั้นและจมูกสีดำ หน้าผากของหมาจิ้งจอกค่อนข้างจะแบนเล็กน้อยหน้าแหลม หูตั้งป้องไปข้างหน้า
2.หมาไน (Asian Wild Dog) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cuon Alpinus ชื่อเหมือนหรือพ้องคือ Canis Javanicus หรือ Canis Rutilandบางครั้งก้อเรียกหมาไนว่า"หมาแดง" (Red dog) มีลักษณะแตกต่างกว่าหมาจิ้งจอกคือ มีสีแดงสนิม (Red red) ตลอดทั้งตัว ไม่มีแผงคอเหมือนหมาจิ้งจอก หางสีดำ ความยาวของหาง 40-50 ซม. (16-20 นิ้ว) น้ำหนักตัว 14-21 ก.ก. จึงมีลำตัวยาวเพรียวกว่าหมาจิ้งอจกและท้องไม่คอดกิ่วเช่นหมาไทยพื้นบ้าน หมาไนตัวใหญ่กว่าหมาจิ้งจอก มีสีเดียวกันตลอดทั้งตัว (มากกว่าหมาจิ้งจอก) หางยาวและมีสีเข้มกว่า จมูกเข้มกว่าและสั้นกว่า ภายในหูมีขนขาวละเอียดอ่อนปกคลุม ปลายหูกลมมน ไม่แหละเหมือนหมาจิ้งจอก มีขนตามลำตัวสีแดงสนิม ขนยาวกว่าหมาจิ้งจอก ขนทีแผงคอไม่มี (หมาจิ้งจอกมี) เท้าและขนที่หางสีดำ ช่วงฤดูหนาวขนจะหนาขึ้น ลูกที่เกิดใหม่จะสีดำคล้ำ เมื่อโตจะเปลี่ยนเป็นสีสีแดงสนิมกะโหลกศีรษะคล้ายกับสุนัขจิ้งจอก แต่ใหญ่กว่า จมูกกว้างและหน้าแบนกว่า เบ้าตาต่ำกว่า รูปร่างฐานเบ้าตาสั้นกว่าและทื่อค่อนไปทางข้างหน้าลักษณะฟันไม่เหมือนกัน ไม่มีกรามที่สามด้านล่าง กรามล่างอันแรกมีเพียงเพียงเขี้ยวเดียว (แต่ในหมาจิ้งจอกมีสองเขี้ยว) ปากมอมสีน้ำตาลเข้มหรืออาจมีสีขาวปน หางเป็นพวงห้อยลงพื้น ส่วนมากจะหลบซ่อนตัวอยู่ในที่ร่มหรือโพลงดินตื้นๆ เห่าเสียงธรรมดาถี่ๆ แต่เมื่อตกใจจะร้องเสียงแหลม หมาไนสามารถกระโดดได้ไกล 3-3.5 เมตรเลยทีเดียว เวลาวิ่งกระโดดไกลถึง 5-6 เมตร และสูง3-3.5 เมตร เวลาล่าเหยื่อที่เป็นสัตว์ใหญ่กว่าจะรวมตัวกันเป็นฝูง 6-8 ตัว จนถึง 20 ตัว หายเหยื่อได้โดยการดมกลิ่น และสะกดรอยตามไปจนเห็นเหยื่อ จากนั้นจะไล่เหยื่อไปจนเหนื่อยอ่อนและจนมุม
3.หมาพื้นบ้านไทย (Thai Dog)
ขนตามลำตัวสั้นเกรียน ละเอียดเป็นเงา หูตั้ง ปลายหูแหลม แข้งขาเล็กเรียวคล้ายขาเก้ง อุ้งเท้าเล็ก ลำตัวค่อนข้างยาวเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหางมีหลายรูปแบบคือหางกระรอก หางงอม้วนเป็นก้นหอยหรือขนมกง
หมาจิ้งจอกทองหรือหมาทอง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า คานิส ออรีอัส (Canis Aureus) มีลักษณะคล้ายหมาป่าวูล์ฟ ขนาดเล็กมีอยู่อย่างกระจัดกระจายตั้งแต่อัฟริกาใต้ไปจนถึงอัฟริกาเหนือ มีขนสีน้ำตาลปนเหลือง ส่วนหลังและหางจะแซมด้วยสีดำ
หมาจิ้กจอกหลังดำ (Black-backed) หรือหลังอานมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า คานิส ไซเมนซิส (Canis Mesomelas) พบในอัฟริกาตอนกลาง อัฟริกาใต้ ที่หลังมีขนยาวสีดำปนขาวแผ่กระจายเต็มหลังไปจนถึงบริเวณหางคล้ายกับอานม้าและใบหูใหญ่
หมาจิ้งจอกหางลาย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า คานิสไซเมนซิส (Canis Adustus) หมาจิ้งจอกพันธุ์นี้มีขนสีเทาและมีขนสีดำพาดเป็นทางด้านข้างลำตัว ที่ปลายหางจะมีสีขาว พบในอัฟริกาเขตร้อน
หมาจิ้งจอกไซเมี่ยน แจ็คกัล (Simian jackal) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า คานิส ไซเมนซิส (Canis Simensis) พบ ในเขตที่ราบสูงเอธิโอเปีย มีรูปร่างและขนาดอยู่ระหว่างหมาจิ้งจอกฟ๊อกซ์ (Fox) และหมาป่าวูล์ฟ (Wolf) แต่ดูแล้วจะเหมือนหมาจิ้งจอกฟ๊อกซ์ (Fox) มากกว่า ลักษณะที่เด่นๆ คือ หูตั้ง ใบหูใหญ่ ปลายหูแหลม ลำตัวค่อนข้างยาว ขนตามลำตัวค่อนข้างแดง ส่วนขนที่คอสีขาวและมีแนวขนสีแดงแก่พาดรอบคอ ขายาวขนที่บริเวณปลายขาจะมีสีขาว หางเป็นพวง โคนหางขาวปลายโคนหางประมาณ 100 ซม. (40 นิ้ว) หรือ 1 เมตร หางยาว 30 ซม. (10 นิ้ว) น้ำหนัก 10 ก.ก. (22 ปอนด์) ตามธรรมชาติจะชอบอยู่เป็นคู่หรืออยู่ลำพังตัวเดียว หมาจิ้งจอกพันธุ์นี้นับว่าเป็นหมาที่มีขนาดใหญ่ แต่ชนิดที่อยู่ในแถบเอเชียและที่พบในประเทศไทยนั้นเป็นชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า คานิส ออริอัส อินดิคัส (Canis Aureus Indicus) ขนของหมาจิ้งจอกพันธุ์นี้จะมีขนสีน้ำตาลปนเทา มีลายกระดำกระด่างเปรอะๆไม่ไช่สีพื้นแดงสนิมเหมือนกับอย่างขนของหมาไนนอกจากนั้นแล้วยังมีขนยาวปกคลุมรอบคอเป็นแผงใหญ่ขนบริเวรนี้ปลายขนจะมีสีดำขนตามลำตัวจะมีลักษณะขนสองชั้นแผ่ชี้ปกคลุมตั้งแต่ท้ายทอยลงมาจนถึงกลางหลังเรื่อยจนไปถึงโคนหางมีลักษณะคล้ายกับอานม้ามากกว่าขนที่กลางหลังของหมาไทยพันธุ์หลังอานเสียอีกเพราะขนที่หลังของหมาหลังอานเป็นขนชนิดที่ย้อนกลับคล้ายๆ กับขวัญ หางของหมาจิ้งจอกจะสั้นกว่าหางของหมาไนและขนที่หางจะมีสีดำเพียงแค่ 1 ใน 3ส่วนหมาไนจะมีขนที่หางจะเป็นสีดำ ความสูงประมาณ 40 ซม. น้ำหนักตัวประมาณ 7-14 ก.ก. (15-31 ปอนด์) ความยาวของลำตัววัดจากหัวหัวถึงปลายหางหางประมาณ 60-75 ซม. (24-30 นิ้ว) ความยาวของหางวัดจากหัวถึงปลายหางประมาณ23-25 ซม.(9.2-14 นิ้ว) กะโหลกศีรษะอยู่ในจำพวกสกุลคานิส ลักษณะของจมูกจะยาวแต่จมูกไม่ดำ ลำตัวกลมและแข็งแรง สันกลางต่ำ โค้งกว้างแตกต่างกับหมาไนซึ่งมีจมูกสั้นและจมูกสีดำ หน้าผากของหมาจิ้งจอกค่อนข้างจะแบนเล็กน้อยหน้าแหลม หูตั้งป้องไปข้างหน้า
2.หมาไน (Asian Wild Dog) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cuon Alpinus ชื่อเหมือนหรือพ้องคือ Canis Javanicus หรือ Canis Rutilandบางครั้งก้อเรียกหมาไนว่า"หมาแดง" (Red dog) มีลักษณะแตกต่างกว่าหมาจิ้งจอกคือ มีสีแดงสนิม (Red red) ตลอดทั้งตัว ไม่มีแผงคอเหมือนหมาจิ้งจอก หางสีดำ ความยาวของหาง 40-50 ซม. (16-20 นิ้ว) น้ำหนักตัว 14-21 ก.ก. จึงมีลำตัวยาวเพรียวกว่าหมาจิ้งอจกและท้องไม่คอดกิ่วเช่นหมาไทยพื้นบ้าน หมาไนตัวใหญ่กว่าหมาจิ้งจอก มีสีเดียวกันตลอดทั้งตัว (มากกว่าหมาจิ้งจอก) หางยาวและมีสีเข้มกว่า จมูกเข้มกว่าและสั้นกว่า ภายในหูมีขนขาวละเอียดอ่อนปกคลุม ปลายหูกลมมน ไม่แหละเหมือนหมาจิ้งจอก มีขนตามลำตัวสีแดงสนิม ขนยาวกว่าหมาจิ้งจอก ขนทีแผงคอไม่มี (หมาจิ้งจอกมี) เท้าและขนที่หางสีดำ ช่วงฤดูหนาวขนจะหนาขึ้น ลูกที่เกิดใหม่จะสีดำคล้ำ เมื่อโตจะเปลี่ยนเป็นสีสีแดงสนิมกะโหลกศีรษะคล้ายกับสุนัขจิ้งจอก แต่ใหญ่กว่า จมูกกว้างและหน้าแบนกว่า เบ้าตาต่ำกว่า รูปร่างฐานเบ้าตาสั้นกว่าและทื่อค่อนไปทางข้างหน้าลักษณะฟันไม่เหมือนกัน ไม่มีกรามที่สามด้านล่าง กรามล่างอันแรกมีเพียงเพียงเขี้ยวเดียว (แต่ในหมาจิ้งจอกมีสองเขี้ยว) ปากมอมสีน้ำตาลเข้มหรืออาจมีสีขาวปน หางเป็นพวงห้อยลงพื้น ส่วนมากจะหลบซ่อนตัวอยู่ในที่ร่มหรือโพลงดินตื้นๆ เห่าเสียงธรรมดาถี่ๆ แต่เมื่อตกใจจะร้องเสียงแหลม หมาไนสามารถกระโดดได้ไกล 3-3.5 เมตรเลยทีเดียว เวลาวิ่งกระโดดไกลถึง 5-6 เมตร และสูง3-3.5 เมตร เวลาล่าเหยื่อที่เป็นสัตว์ใหญ่กว่าจะรวมตัวกันเป็นฝูง 6-8 ตัว จนถึง 20 ตัว หายเหยื่อได้โดยการดมกลิ่น และสะกดรอยตามไปจนเห็นเหยื่อ จากนั้นจะไล่เหยื่อไปจนเหนื่อยอ่อนและจนมุม
3.หมาพื้นบ้านไทย (Thai Dog)
ขนตามลำตัวสั้นเกรียน ละเอียดเป็นเงา หูตั้ง ปลายหูแหลม แข้งขาเล็กเรียวคล้ายขาเก้ง อุ้งเท้าเล็ก ลำตัวค่อนข้างยาวเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหางมีหลายรูปแบบคือหางกระรอก หางงอม้วนเป็นก้นหอยหรือขนมกง
แหล่งข้อมูล : หนังสือหมาบางแก้ว